วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 2.2 การส้รางลอจิเกตพื้นฐานโดยใช้ไอซี 74HCT00

การทดลองที่ 2.2 การส้รางลอจิเกตพื้นฐานโดยใช้ไอซี 74HCT00

วัตถุประสงค์
1. ฝึกต่อวงจรโดยใช้ไอซีลอจิก 74HCT00 บนเบรดบอร์ด
2. สร้างลอจิกเกตพื้นฐาน เช่น เกต OR AND และ NOR หรือตามฟังก์ชั่นบูลีนที่กำหนดให้ โดยใช้ลอจิกเกต NAND ที่มีอยู่ในไอซี 74HCT00
3. ต่อวงจรปุ่มกดเพื่อใช้เป็นอินพุต และต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงพร้อมตัวต้านทานเพื่อใช้เป็นเอาต์พุต

รายการอุปกรณ์
1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)              1 อัน
2. ไอซี 74HCT00                          1 ตัว (สามารถศึกษา Data Sheet ได้ที่นี่)
3. ปุ่มกดแบบสี่ขา                             2 ตัว
4. ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.            1 ตัว
5. ตัวต้านทาน 10 kΩ                       2 ตัว
6. ตัวต้านทาน 330 Ω หรือ 470 Ω     1 ตัว
7. สายไฟสำหรับต่อวงจร                    1 ชุด
8. แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                 1 ชุด

ขั้นตอนการทดลอง
1. ออกแบบและวาดผังวงจร สาํหรับสร้างลอจิกเกตที่มีอินพุตสองขาและเอาต์พุตหนึ่งขา โดยใช้ไอซี 74HCT00 เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยแบ่งเป็นสามกรณี ไดแ้ก่ AND OR และ NOR พร้อมวงจรปุ่มกด ที่มีตัวต้านทาน 10kΩ แบบ Pull-Up จํานวน 2 ชุด (SW1 และ SW2) สําหรับขาอินพุตทั้งสองของ ลอจิกเกต และวงจรไดโอดเปล่งแสง (LED1) พร้อมตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω เพื่อใช้แสดง สถานะสําหรับเอาต์พุต

2. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อสร้างลอจิกเกต AND และมีวงจรปุ่มกด SW1 และ SW2 เพื่อใช้เป็นอินพุต และวงจรไดโอดเปล่งแสง LED1 เพื่อใช้แสดงสถานะสําหรับเอาต์พุต

3. สร้างอินพุตทั้งสองขาของลอจิกเกต ให้ครบ 4 กรณี แล้วสงัเกตผลที่ได้ บันทึกผลลงในตารางที่ 2.1.1

4. ยกเลิกการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด

5. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อสร้างลอจิกเกต OR และมีวงจรปุ่มกด SW1 และ SW2 เพื่อใช้เป็นอินพุต และวงจรไดโอดเปล่งแสง LED1 เพื่อใช้แสดงสถานะสําหรับเอาต์พุต

6. สร้างอินพุตทั้งสองขาของลอจิกเกต ให้ครบ 4 กรณี แล้วสงัเกตผลที่ได้ บันทึกผลลงในตารางที่ 2.1.2

7. ยกเลิกการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด

8. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อสร้างลอจิกเกต NOR และมีวงจรปุ่มกด SW1 และ SW2 เพื่อใช้เป็นอินพุต และวงจรไดโอดเปล่งแสง LED1 เพื่อใช้แสดงสถานะสําหรับเอาต์พุต

9. สร้างอินพุตทั้งสองขาของลอจิกเกต ให้ครบ 4 กรณี แล้วสังเกตผลที่ได้ บันทึกผลลงในตารางที่ 2.1.3

ผลการทดลอง
วงจรลอจิกเกต AND
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing

วงจรลอจิกเกต AND Schematic View

วงจรลอจิกเกต AND Breadboard View

วงจรที่ต่อบนเบรดบอร์ด

ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต AND

ปุ่มกด SW1

ปุ่มกด SW2

สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)

ไม่กด (1) ไม่กด (1) ติด
กด (0) ไม่กด (1) ดับ
ไม่กด (1) กด (0) ดับ
กด (0) กด (0) ดับ


ไม่กดทั้ง 2 สวิตซ์

กดสวิตซ์ SW1

กดสวิตซ์ SW2

กดทั้งสวิตซ์ SW1 และ SW2

วงจรลอจิกเกต OR
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing

วงจรลอจิกเกต AND Schematic View

วงจรลอจิกเกต AND Breadboard View

วงจรที่ต่อบนเบรดบอร์ด


ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต OR

ปุ่มกด SW1

ปุ่มกด SW2

สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)

ไม่กด (1) ไม่กด (1) ติด
กด (0) ไม่กด (1) ติด
ไม่กด (1) กด (0) ติด
กด (0) กด (0) ดับ


ไม่กดทั้ง 2 สวิตซ์

กดสวิตซ์ SW1

กดสวิตซ์ SW2

กดทั้งสวิตซ์ SW1 และ SW2

วงจรลอจิกเกต NOR
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing

วงจรลอจิกเกต AND Schematic View

วงจรลอจิกเกต AND Breadboard View

วงจรที่ต่อบนเบรดบอร์ด


ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต NOR

ปุ่มกด SW1

ปุ่มกด SW2

สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)

ไม่กด (1) ไม่กด (1) ดับ
กด (0) ไม่กด (1) ดับ
ไม่กด (1) กด (0) ดับ
กด (0) กด (0) ติด


ไม่กดทั้ง 2 สวิตซ์


กดสวิตซ์ SW1


กดสวิตซ์ SW2


กดทั้งสวิตซ์ SW1 และ SW2

คำถามท้ายการทดลอง
1. จากผลการทดลองต่อวงจรสําหรับสร้างลอจกิเกต AND OR และ NOR ตามลําดับ เป็นไปตามตาราง ค่าความจริงสําหรับลอจิกเกตดังกล่าวหรือไม่ จงอธิบาย
เป็นไปตามตารางค่าความจริงของลอจิกเกตดังกล่าว เพราะ เมื่อกำหนดให้สวิตซ์ที่ไม่ได้กดมีค่าความจริงเป็น 1 สวิตซ์ที่กดมีค่าความจริงเป็น 0 และให้สถานะไฟติดมีค่าความจริงคือ 1 ไฟดับคือ 0 แล้ว ค่าความจริงในตารางผลการทดลองวงจรลอจิกเกตทั้ง 3 ชนิด จะมีค่าตรงกับคุณสมบัติของลอจิกเกตแต่ละชนิด ดังนี้

ลอจิกเกต AND

SW1

SW2

AND

1 1 1
1 0 0
0 1 0
0 0 0

ลอจิกเกต OR

SW1

SW2

OR

1 1 1
1 0 1
0 1 1
0 0 0

ลอจิกเกต NOR

SW1

SW2

NOR

1 1 0
1 0 0
0 1 0
0 0 1


2. เมื่อต่อวงจรปุ่มกดที่มีตัวต้านทาน 10kΩ แบบ Pull-Down (แทน Pull-Up) เพื่อสร้างสัญญาณอินพุต ให้ลอจิกเกต จะให้ผลแตกต่างจากที่ได้ทดลองไปหรือไม่ จงอธิบาย
การต่อวงจรปุ่มกดแบบ Pull-Down จะให้ผลการทดลองแตกต่างกับการต่อแบบ Pull-Up เนื่องจากในวงจร Pull-Up นั้นเมื่อยังไม่ได้กดสวิตซ์ก็ยังมีกระแสไหลอยู่ในวงจร เมื่อวัดแรงดันที่ขา Output เทียบกับ GND จะได้แรงดันเป็นค่า High ซึ่งมีค่าลอจิกเป็น "1" แต่เมื่อกดสวิตซ์จะทำให้กระแสไหลลง GND ทำให้ค่าแรงดันที่วัดเป็นค่า Low ซึ่งมีค่าลอจิกเป็น "0"
ในทางกลับกัน วงจรแบบ Pull-Down เมื่อยังไม่กดสวิตซ์จะยังไม่มีกระแสไหลในวงจร ค่าแรงดันระหว่างขา Output เทียบกับ GND จึงเป็นค่า Low ซึ่งมีลอจิกเป็น "0" และเมื่อกดสวิตซ์กระแสจะไหลเข้าวงจรทำให้มีแรงดันที่ขา Output ซึ่งมีลอจิก "1"
สรุปแล้ว สถานะในการกดสวิตซ์เพื่อสร้างสัญญาณอินพุตในวงจร Pull-Up และ Pull-Down จะมีสถานะตรงกันข้ามคือ Pull-Up กดคือ"0" ไม่กดคือ"1" Pull-Down กดคือ"1" ไม่กดคือ"0" ซึ่งเอาต์พุตที่ได้จากลอจิกเกตก็จะขึ้นอยู่กับสัญญาณอินพุต เช่น ลอจิกเกต AND หากกดทั้ง 2 สวิตซ์ ถ้าเป็นวงจร Pull-Up จะเป็น 1 AND 1 ซึ่งได้ 0 ส่วนวงจร Pull-Down จะเป็น 0 AND 0 ซึ่งได้ 1 
รูปภาพจากอินเตอร์เน็ต : http://www.devreyapimi.com/wp-content/uploads/2011/10/pull-up-pull-down.jpg


3. ถ้าจะสร้างวงจรตรรกะตามฟังก์ชนับูลีน O = AC' + BC  โดยใช้ไอซี 74HCT00 เท่านั้น จะต้องออกแบบอย่างไร (ให้วาดรูปผังวงจร)

วงจรลอจิกตามฟังก์ชันบูลีนดังกล่าว Schematic View

วงจรลอจิกตามฟังก์ชันบูลีนดังกล่าว AND Breadboard View

อ้างอิง: เอกสารการทดลองที่ 2.2 การส้รางลอจิเกตพื้นฐานโดยใช้ไอซี 74HCT00
โดย ดร.เรวัต ศิริโภคาภิรมย์ ห้องปฏิบัติการระบบสมองกลฝังตัว(ESL.) มจพ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น