วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 5.3 การต่อวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสง

การทดลองที่ 5.3 การต่อวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสง

วัตถุประสงค์ 

  • ฝึกต่อวงจรโดยใช้อุปกรณ์สวิตช์ควบคุมด้วยแสง (Opto-Interrupter) เช่น เบอร์ H21A1 
  • ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ร่วมกบับอร์ด Arduino  

รายการอุปกรณ์ 
  1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                              1 อัน 
  2. อุปกรณ์สวิตช์ควบคุมด้วยแสง H21A1 หรือ TCST2202      1 ตัว (สามารถศึกษา Data Sheet ได้ที่นี่)
  3. ไดโอดเปล่งแสงสีแดงหรือสีเขียว                                      1 ตัว 
  4. ตัวต้านทาน 220Ω                                                      1 ตัว 
  5. ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                                      1 ตัว 
  6. ตัวต้านทาน 10kΩ                                                      1 ตัว 
  7. บัซเซอร์แบบเปียโซ (Piezo Buzzer)                              1 ตัว 
  8. สายไฟสําหรับต่อวงจร                                                  1 ชุด
  9. มัลติมิเตอร์                                                                1 เครื่อง  

ขั้นตอนการทดลอง 
1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามรูปที่ 5.3.1 โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง +5V และ GND จากบอร์ด Arduino

2. เขียนโค้ด Arduino เพื่อรับค่าอินพุตแบบดิจิทัลที่ขา D3 (จากสัญญาณ Vout ของวงจรบนเบรด บอร์ด) แล้วสรา้งสัญญาณเอาต์พุตที่ขา D5 เพื่อแสดงค่าของอินพุตที่รับโดยใช้ LED เป็นตัวแสดง สถานะทางลอจิก (ถ้าไม่มีวัตถุมาปิดกั้นช่องรับแสง LED จะต้องไม่ติด)

3. ใช้กระดาษสีดําปิดกั้น (หรือวัตถุอื่น เช่น ไม้บรรทัดเหล็ก) บริเวณช่องรับแสงของอุปกรณ์สวิตช์ ควบคุมด้วยแสง สังเกตความแตกต่างระหว่างกรณีที่มีวัตถุปิดก้ันและไม่มี (เช่น ใช้มัลติมเิตอร์วัด แรงดัน Vout)

4. ทดลองต่อบัซเซอร์แบบเปียโซ (สร้างเสียงเตือน) แทนวงจร LED ในวงจรบนเบรดบอร์ด (โดยนําไปต่อ อนุกรมกับตัวต้านทานขนาด 330Ω และใหส้ังเกตว่า บัซเซอร์แบบเปียโซมีขาบวกและขาลบ)

5. แก้ไขโค้ด Arduino เพื่อนับเวลาตั้งแต่เริ่มนํากระดาษไปปิดกั้นจนถึงเมื่อนํากระดาษออกในแต่ละครั้ง โดยวัดช่วงเวลาเป็นหน่วยมิลลิวินาที (msec) และให้แสดงผลออกทางพอร์ตอนุกรมผ่านทาง Serial Monitor ของ Arduino IDE (ให้ศึกษาการใช้คําสั่ง millis() สําหรับการเขียนโค้ด Arduino)

6. เขียนรายงานการทดลอง ซงึ่ประกอบด้วยคําอธบิายการทดลองตามขั้นตอน ผงัวงจรที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักไฟฟา้ (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการตอ่วงจรบน เบรดบอร์ด และตอบคําถามท้ายการทดลอง


ผลการทดลอง
ออกแบบวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสงต่อกับ Arduino ด้วยโปรแกรม frizing

 
 วงจร Arduino Schematic View


 
 วงจร Arduino Breadboard View
 
 รูปวงจรที่ต่อตามวงจรที่ออกแบบ


โค้ดสำหรับโปรแกรม Arduino Sketch



ผลเมื่ออัพโหลดโค้ด Arduino
เมื่อไม่มีวัตถุกั้นที่ช่องรับแสงของสวิตซ์ควบคุมด้วยแสง เมื่อวัดแรงดันที่ Vout มีค่า 0.109 V

 

เมื่อมีวัตถุกั้นที่ช่องรับแสงของสวิตซ์ควบคุมด้วยแสง เมื่อวัดแรงดันที่ Vout มีค่า 4.951 V

เปลี่ยนจากวงจร LED เป็นวงจร Piezo Buzzer
ออกแบบวงจร
 วงจร Arduino Schematic View

 วงจร Arduino Breadboard View

 รูปวงจรที่ต่อตามวงจรที่ออกแบบ



ผลเมื่ออัพโหลดโค้ด Arduino
เมื่อนำวัตถุกั้นที่ช่องรับแสงสวิตซ์ควบคุมด้วยแสง Piezo Buzzer จะเกิดเสียง


ผลที่แสดงบน Serial Mornitor เมื่อนำวัตถุกั้นที่ช่องรับแสงของสวิตซ์ควบคุมด้วยแสง และเมื่อนำวัตถุออก จะแสดงเวลาที่วัตถุกั้นอยู่ในช่องรับแสงหน่วยเป็นมิลลิวินาที


คำถามท้ายการทดลอง
1.จากการทดลองพบว่า จะวัดแรงดัน Vout ได้เท่ากับ 0.109 โวลต์ เมื่อไม่มีวัตถุไปปิดกั้นช่องรับแสง ของอุปกรณ์ H21A1 และจะวัด Vout ได้เท่ากับ 4.951 โวลต์ เมื่อมีวัตถุไปปิดกั้นช่องรับแสง ของอุปกรณ์ดังกล่าว


2. ถ้านํากระดาษสีขาวและกระดาษสีดํา ไปปิดกั้นช่องรับแสง ในแต่ละกรณี จะใหผ้ลการทํางานของ วงจรที่แตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
ตอบ ไม่มีผลเนื่องจากวัตถุทั้งสองชนิดที่ใช้เป็นวัตถุทึบแสงทำให้เมื่อนำไปกั้นระหว่างช่องรับแสงแล้วจะทำให้แสงอินฟาเรดไม่สามารถผ่านไปฝั่งรับแสงได้


อ้างอิง: การทดลองที่ 5.3 การต่อวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสง  
โดย ดร.เรวัต ศิริโภคาภิรมย์ ห้องปฏิบัติการระบบสมองกลฝังตัว(ESL.) มจพ.

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 5.2 การตรวจจับวัตถุในระยะใกล้ด้วยแสงอินฟราเรด

การทดลองที่ 5.2 การตรวจจับวัตถุในระยะใกล้ด้วยแสงอินฟราเรด

วัตถุประสงค์ 

  • ฝึกต่อวงจรโดยใช้ไดโอดเปล่งแสงอนิฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ 
  • ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ทั้งสองชนิดร่วมกับบอร์ด Arduino เพื่อใช้ตรวจจับวัตถุในระยะใกล้  


รายการอุปกรณ์ 

  1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                          1 อัน 
  2. ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด                                       1 ตัว 
  3. ไดโอดเปล่งแสงสีแดงหรือสีเขียว                             1 ตัว 
  4. โฟโต้ทรานซิสเตอร์                                                   1 ตัว 
  5. ตัวต้านทาน 220Ω                                                      1 ตัว 
  6. ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                                    1 ตัว 
  7. ตัวต้านทาน 10kΩ                                                       1 ตัว 
  8. ตัวเก็บประจุแบบ Electrolytic 1uF หรือ 10uF (มีขั้ว)  1 ตัว 
  9. สายไฟสําหรับต่อวงจร                                               1 ชุด 
  10. มัลติมิเตอร์                                                                 1 เครื่อง  

ขั้นตอนการทดลอง 
1. ออกแบบวงจร (วาดผังวงจร) โดยใช้ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ 1 ชุด พร้อม ตัวต้านทานตามที่กําหนดให้ แล้วนําสัญญาณเอาต์พุตของวงจรส่วนนี้ ไปต่อเข้าที่ขาอินพุต A1 ของ บอร์ด Arduino และให้มีวงจรไดโอดเปล่งแสง (LED) พร้อมตัวต้านทานจํากัดกระแส 330Ω หรือ 470Ω ที่ต่อกับขาเอาต์พุต D5 ของบอร์ด Arduino เพื่อใช้เป็นเอาต์พุตในการแสดงผล

2. ต่อวงจรตามผังวงจรที่ได้วาดไว้บนเบรดบอร์ด ให้ใชแ้รงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd  จากบอร์ด Arduino เท่านั้น

3. เขียนโค้ดสําหรับ Arduino ให้แสดงพฤติกรรมดังนี้ เมื่อมวีัตถุเข้าใกล้ (อยู่เหนือ) ตัวส่งและตัวรับแสง อินฟราเรดของวงจร (เช่น ที่ระยะห่างประมาณ 10 cm หรือน้อยกว่า) จะทําให้ LED เริ่มกระพริบ ด้วยความถี่ต่ํา (อย่างช้าๆ) แต่ถ้าวัตถุเข้าใกล้มากขึ้น LED จะกระพริบด้วยความถี่สูงขึ้น แต่ถ้าไม่มี วัตถุอยู่ในระยะใกล้ LED จะต้องไม่ติด (ไม่กระพริบ) ให้ทดลองกับวัตถุต่างสีกัน เช่น สขีาวและสีดํา

4. เขียนรายงานการทดลอง ซงึ่ประกอบด้วยคําอธบิายการทดลองตามขั้นตอน ผงัวงจรที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักไฟฟา้ (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการตอ่วงจรบน เบรดบอร์ด และตอบคําถามท้ายการทดลอง

ผลการทดลอง
ออกแบบวงจรโดยใช้โปรแกรม Frizing

วงจร Arduino Schematic View

วงจร Arduino Breadboard View

วงจรที่ต่อตามวงจรที่ออกแบบ


โค้ดสำหรับ Arduino Sketch



ผลการทำงานจากโค้ด
เมื่อทดลองกับกระดาษสีขาว


เมื่อทดลองกับกระดาษสีดำ


คําถามท้ายการทดลอง 
1. ในการทดลอง ถ้าใช้วัตถุต่างสีกัน จะมีผลต่อการทํางานของวงจรที่แตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
ตอบ แตกต่างกันเนื่องจากวัตถุสีขาวนั้นจะสะท้อนแสงขาวออกมาทำให้โฟโต้ทรานซิสเตอร์ได้รับแสงเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่วัตถุสีน้ำนั้นจะดูดกลืนแสงขาวทำให้เมื่อนำวัตถุดำไปใกล้โฟโต้ทรานซิสเตอร์จะทำให้ได้รับแสงน้อยกว่าวัตถุสีขาว
อ้างอิง: การทดลองที่ 5.2 การตรวจจับวัตถุในระยะใกล้ด้วยแสงอินฟราเรด  
โดย ดร.เรวัต ศิริโภคาภิรมย์ ห้องปฏิบัติการระบบสมองกลฝังตัว(ESL.) มจพ.